Browsed by
Category: Q&A

ความพอใจไม่พอใจ 3 ระดับ

ความพอใจไม่พอใจ 3 ระดับ

ถาม:
ผมขอถามปัญหาอีกข้อครับอาจารย์พอดีได้ยินจากคลิป มหาสุญญตา อาจารย์มีพูดถึงการแบ่งความพอใจและไม่พอใจออกเป็น 3 ระดับ อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่ามีอะไรบ้างครับ

ตอบ:
ความพอใจไม่พอใจ 3 ระดับ – หยาบ กลาง ละเอียด

1. ระดับหยาบ คือความพอใจหรือไม่พอใจที่แสดงออกในอุปกิเลส เช่น พยาบาท อิจฉา อยากจนห้ามใจไม่ได้ ฯลฯ อันนี้หยาบมาก แต่คนเราก็ไม่เห็น เพราะมัวแต่เลยไปหลงกับอารมณ์นั้นๆแล้ว ระดับนี้หากยังไม่สามารถรู้และละได้ก็ยากที่จะพัฒนาต่อ

2. ระดับกลาง ที่เรารู้สึกพอใจไม่พอใจกับสิ่งต่างๆ แต่ยังไม่พุ่งพล่านออกไป อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรอย่างยิ่งที่จะหัดรู้เท่าทันและละให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการปรุงแต่งต่อไปสู่อุปกิเลส… อ่านต่อ

ปรมัตถ คืออะไร

ปรมัตถ คืออะไร

ปรมัตถ์ โดยศัพท์แปลว่า สูงสุด, อันยิ่ง
ดังนั้น ปรมัตถสัจ จึงหมายถึงความจริงอันยิ่ง ความจริงอันสูงสุด

ความจริงนั้นมีอยู่ 2 คือ สมมุติสัจ และปรมัตถสัจ

สมมุติสัจ หมายถึงความจริง ที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้น ไม่ใช่ความหมายที่จริงแท้ ไม่ทนต่อการพิสูจน์ แปรเปลี่ยนไปได้ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ วัตถุ อารมณ์ต่างๆ ฯลฯ

เข้าใจง่ายๆคือ สิ่งที่เราให้ชื่อ ให้ความหมายมัน ซึ่งประโยชน์คือ เพื่อใช้ในการสื่อแล้วนำมาทำประโยชน์ สมมุติจึงถูกสมมุติขึ้นเพื่อทำประโยชน์เท่านั้น แต่โดยความจริงแล้วมันมิได้มีอย่างนั้น… อ่านต่อ

การละชั่วทำไมทำยากกว่าการทำดี?

การละชั่วทำไมทำยากกว่าการทำดี?

การละชั่วทำไมทำยากกว่าการทำดี?


 สำหรับพวกเราแล้วอย่าได้ใช้คำว่า “ชั่ว” เลย มันดูรุนแรงไป
“ชั่ว” ขอให้หมายถึงสิ่งที่เลยอุปกิเลสขึ้นไปมากๆ ซึ่งคือการ เบียดเบียนผู้อื่นจนผิดศีล

แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของพวกเรานั้น คือการกระทำไม่ดีผิดหลักธรรม ซึ่งสาเหตุหลักคือ เราไม่สามารถ เอาชนะอำนาจกิเลสในตัวเราได้

และอีกข้างหนึ่ง การทำดีของพวกเรา ส่วนใหญ่ก็ทำเพราะยึดติดในดีนั้น

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ต่างสะท้อนให้เห็นว่า พวกเราล้วนเดินไปตามอำนาจอัตตาตัวตนของเราทั้งสิ้น

ทำดีก็เพื่อส่งเสริมตัวตน มันจึงทำได้ง่าย
ละสิ่งไม่ดีทำได้ยาก ก็เพราะไม่อาจชนะอำนาจตัวตนของเราได้อีกเช่นกัน

ดังนั้น หากเราสามารถพิจารณาตรงลงไปเพื่อลดอัตตาตัวตนของเราได้ มันก็จะง่าย และเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว

แต่หากยังไม่สามารถทำได้ เราก็ต้องแยกจัดการเป็นสองมุม คือ

มุมหนึ่ง จัดการกับความไม่ดี และอีกมุมหนึ่ง ป้องกันการเกิดอัตตาตัวตน ยามเมื่อทำดี

ซึ่งการจัดการกับความไม่ดีนั้น เราทำได้ดังนี้คือ

  1. พิจารณาให้เห็นโทษของสิ่งนั้นอย่างแจ้งชัด จนจิตมันยอม มันกลัวหากจะทำไม่ดีเช่นนั้นอีก
  2. พิจารณาดูเหตุและปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำไม่ดีนั้น แล้วพยายามกำจัดเหตุเหล่านั้นเสีย
  3. พิจารณาดูอาการนำและลีลาของมันตั้งแต่ต้นจนเกิดการทำไม่ดีเช่นนั้น
  4. นำปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาทั้งหมดนั้น มาเป็น โปรแกรมสำหรับตั้งสติ เพื่อการตระหนักรู้เท่าทันและละวาง ยามเมื่อมันจะเกิดขึ้น
  5. ซึ่งแน่นอน เราต้องเฝ้าดูตัวเราเองอยู่เสมอ ยิ่งหากเราสามารถกันไม่ให้เหตุนำมันเกิดขึ้นได้ ก็ยิ่งง่าย เป็นการตัดก่อนเกิด
  6. หากยังพลาดท่าต่อมันอีก ก็ต้องพิจารณาให้มากขึ้น หารูรั่วของเรา แล้วพยายามอุดรูนั้นเสีย

ส่วนมุมที่สองนั้น หลักใหญ่ๆ คือ ยามเมื่อเราทำดี เราต้องละความยึดมั่น 3 อย่างคือ

  • ยึดมั่นในสิ่งที่ทำว่าดี
  • ยึดมั่นว่าเราเก่งเราดี
  • ยึดมั่นว่าเราเป็นผู้ทำดีนั้น

ซึ่งวิธีการได้เคยพูดไปมากแล้ว จะไม่ขอกล่าวซ้ำตรงนี้

ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า การหมั่นมองตน แก้ไขตน เรียนรู้ตน ปรับปรุงตน ต่อไปมันก็จะไม่มียากไม่มีง่าย อะไรอีก

 

เจริญธรรม

อาจารย์หมอ… อ่านต่อ

วิธีทำให้ที่ทำงานเป็นที่ปฏิบัติธรรม

วิธีทำให้ที่ทำงานเป็นที่ปฏิบัติธรรม

ขอคำแนะนำที่จะทำให้ที่ทำงานเป็นที่ปฏิบัติธรรม


จริงๆแล้ว หากเรามีสติที่จะรักษาใจของเรา ไม่ให้ไหลไปตามอำนาจความพอใจไม่พอใจได้ เราจะอยู่ที่ไหน มันก็จะเป็นที่ปฏิบัติของเรา แต่ปัญหาคือ มันทำไม่ค่อยได้ หรือได้เป็นบางครั้ง แล้วก็หายไปนาน กว่าจะกลับมารู้อีกที ก็ไหลไปอุปกิเลสแล้ว หรืออาจเลยไปใส่คนนู้นคนนี้เข้าไปแล้ว

ดังนั้น มันจึงต้องมีการสร้างเหตุปัจจัยที่จะเกื้อกูลให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คือ

  1. เริ่มวันใหม่ด้วยใจที่สงบ ตื่นรู้ (คือควรทำสมถะให้จิตสงบเย็น ตั้งสติอยู่กับการรู้เท่าทันกายจิต) และตั้งใจกับตนเองที่จะระวังรักษาใจของเราไปทั้งวัน
  2. พิจารณาให้เห็นถึงคุณค่าของความรักความเมตตา และตั้งใจที่จะปฏิบัติกับทุกคนที่เราพบด้วยความรู้สึกเช่นนั้น
  3. พยายามรักษาสติ ให้รู้เท่าทันกายและใจของเราไปทั้งวัน หากรู้ว่าเผลอไปแล้ว ก็อย่าเกลียดตนเอง แค่เริ่มต้นใหม่ต่อไป
  4. ควรทำใจให้สงบ ผ่อนคลาย ปล่อยวางความคิดวุ่นๆทั้งหลายอย่างน้อย 5-10 นาที ในระหว่างวัน อยู่เป็นประจำ ประมาณ 2-3 ช่วง เพื่อjuneจิตให้กลับมาอยู่ที่ฐานดังเดิม
  5. เมื่อต้องสัมพันธ์กับใคร พยายามตระหนักที่จะปฏิบัติกับเขาด้วยความรักความเมตตา แม้กับคนที่เราเกลียดหรือเกลียดเรา
  6. หากมีการหลุดของอารมณ์ไปตามความพอใจไม่พอใจ เมื่อรู้ตัว ก็ให้ตั้งหลักให้ดี รักษาใจไว้ให้ได้ เมื่อมันผ่านไปหรือใจสงบดีแล้ว ให้เอาเรื่องนั้นมาพิจารณา หาว่าเราหลงยึดอะไรจึงเป็นเช่นนั้น แล้วพิจารณาต่อให้ได้ว่ามันยึดไม่ได้อย่างไร
  7. ยามเย็นควรนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ แล้วทบทวนข้อผิดพลาดอื่นๆของเรา และหาหนทางแก้ไข สอนตนเองไว้
  8. เมื่อเสร็จสิ้น ให้ทิ้งทุกอย่างไม่ต้องเก็บอะไรไว้ ทั้งความผิดพลาดและความรู้ทั้งหลายที่ได้เรียนรู้มาตลอดทั้งวัน
  9. เข้านอนด้วยจิตที่ว่าง ไม่ต้องให้ความแบ่งแยกแตกต่างระหว่างความดี ความไม่ดี ความถูกความผิดอะไรอีก

ค่อยๆทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จิตจะค่อยๆปรับตัวตื่นขึ้นเองไปทีละน้อย

จงจำไว้ว่า ให้ใจเย็นๆ ทำไปเรื่อยๆ ด้วยความใส่ใจ แล้วมันจะสืบเนื่องเองโดยไม่รู้ตัว

เอาย่อๆแค่นี้ก่อนนะ

 

เจริญธรรม

อาจารย์หมอ… อ่านต่อ

การจัดการกับความโกรธ

การจัดการกับความโกรธ

อยากทราบวิธีการดูจิตประเภทโทสะจากหยาบ (ขุ่นเคืองมาก) จนถึงละเอียด (เริ่มขัดใจน้อยๆ) ตระหนักถึงความจำเป็นแต่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้


อย่าเรียกว่า การดูจิตโทสะ เลย ถ้าเข้าใจว่าเป็นเพียงแค่การดูจิต เราจะสับสน และเมื่อปฏิบัติ จะได้เพียงแค่สติจำสภาวะได้เท่านั้น ซึ่งขาดปัญญาอันเป็นสิ่งสำคัญในการรื้อถอนสมุหทัย มันต้องหมายครอบคลุมถึง การจัดการ (Deal) กับความโกรธ หรือ โทสะนั้น จะถูกตรงกว่า

ฉะนั้นในเบื้องต้น เราต้อง “พึงระงับความโกรธ ด้วยการไม่โกรธ” ไว้ก่อน เมื่อรู้ว่าจิตปรุงแต่งความโกรธขึ้น ก็ไม่ต้องไปปรุงต่อใดๆทั้งสิ้น เฝ้าดูธรรมชาติของมันไป เพื่อเรียนรู้ แต่หากเราไม่สามารถระงับความโกรธเช่นนั้นได้ นั่นแสดงว่ากำลัง (สติ สมาธิ ปัญญา) ของเราอ่อนกว่า กำลังของความยึดติดในสิ่งมากระตุ้นให้เราโกรธนั้น เราจึงต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ด้วยยาแก้บางอย่างเช่น ใช้เมตตา, การสอนเตือนตัวเองอย่างไรก็ได้ให้มันหยุดโกรธก่อน หรือ ที่สุดก็เดินหนีเสีย

เมื่ออกุศลจิตเกิด จงระงับเสีย อย่าได้ให้มันเจริญงอกงามเป็นอกุศลกรรมเลย

นั่นหมายถึงว่า อย่าได้ก่อวจีกรรม หรือ กายกรรมใดๆไปในขณะที่เรากำลังมีความโกรธ มันเป็นสิ่งไม่ดีอย่างยิ่ง มันจะเป็นการตอกย้ำความเคยชินในการโกรธให้แก่ใจของเรา และอาจเป็นการก่อเวรด้วย

เมื่อเราสามารถระงับความโกรธในตอนนั้นได้แล้ว อย่าปล่อยโอกาสให้มันผ่านไป เพราะการทำเพียงที่กล่าวมาข้างต้น มันยังไม่ได้ช่วยให้เรามีกำลังอะไรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญญาที่จะรื้อถอนเหตุแห่งความโกรธนั้น

เพราะฉะนั้น เมื่อประสบกับปรากฏการณ์แห่งความโกรธทั้งที ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า จึงต้องเอามันมาเรียนรู้
ปัญหาของความโกรธรวมทั้งอารมณ์ทั้งหลาย เราต้องแยกการเรียนรู้ออกเป็นสองเรื่องคือ เรียนที่ตัวสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์นั้น และ เรียนที่ตัวอารมณ์นั้นเอง

  1. พิจารณาที่สิ่งกระตุ้น
    เมื่อเราสามารถระงับความโกรธ หรือ ระงับใจไม่ให้โกรธตอนนั้นได้แล้ว เราจำเป็นจะต้องพิจารณาให้ดีว่า ทำไมเราถึงเกิดความขัดเคืองเพราะกระทบสิ่งนั้น เราต้องดูความผิดพลาดที่ตัวเราเองว่า เราหลงยึดธรรมคู่อันไหน
    เพราะธรรมชาติแห่งความโกรธนั้นเกิดจากการประสบกับสิ่งที่ตนไม่พอใจ ดังนั้น ความผิดพลาดมันจึงอยู่ที่ ทำไมเราจึงหลงไปไม่พอใจสิ่งนั้น ต่างหาก

    มันเป็นความผิดพลาดของเราเอง ที่เราหลงไปโกรธสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราวางใจไม่ถูกเองต่างหากไม่ใช่ความผิดของใครอื่น

    ดังนั้นเมื่อเราไม่พอใจ ซึ่งแน่นอนเพราะเราคิดลบกับสิ่งนั้น เราจึงต้องแก้ด้วยการมองบวก เพื่อผ่อนคลายความยึดมั่นถือมั่นของเรา
    เราขัดเคืองกับความร้อนแสดงว่าเรามองแง่ลบกับความร้อน เราก็ต้องมองแง่บวกดู คิดพิจารณาด้วยเหตุผลให้เห็นแง่ดีของความร้อน(ต้องเป็นความจริงไม่ใช่หลอกตัวเอง) เพื่อให้จิตถอนตัวออกจากการมองแต่เพียงแง่เดียว
    เราไม่พอใจคนด่าว่าเรา เราก็ต้องมองแง่ดีของการด่านั้น เพื่อให้ใจเรามองเห็นสมมุติทั้งหลายตามความเป็นจริง
    เพราะคนเราจะเซเข้าไปอยู่ในความเห็นข้างใดข้างหนึ่งเสมอ จึงทำให้มองไม่เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของทุกสิ่งสมมุตินั้น มันมีสองด้านเสมอ มีดีก็มีไม่ดี มีบวกก็มีลบ มีถูกก็มีผิด
    เมื่อเราสามารถพิจารณาหาเหตุผลจนจิตมันยอมรับความผิดพลาดของตนเองได้แล้ว จิตจะคลายจากความเซ กลับคืนมาอยู่ตรงกลาง ตรงนี้ล่ะถึงจะเป็นเมตตาที่แท้จริง ตรงนี้ล่ะถึงจะเกิดการให้อภัยที่แท้จริง
    การให้อภัยผู้อื่นที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อเรามองเห็นและยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเราเอง
    เพราะฉะนั้น ณ.จุดนี้เราจะเห็นว่า หากเรายิ่งปิดใจตัวเองด้วยทิฐิมานะ หลงว่าเราถูก เราเก่ง เราดี มันย่อมไม่มีทางรื้อถอนความโกรธในตัวเราได้เลย

  2. พิจารณาที่ตัวอารมณ์
    เมื่อจิตเราเริ่มคืนสู่ความเป็นกลาง เพราะไม่เซไปจมตามความคิดปรุงแต่งในแง่เดียว เราจำต้องยกตัวอารมณ์โกรธนั้นขึ้นมาพิจารณาอีกทีหนึ่ง ซึ่งการพิจารณาจุดนี้ก็แยกออกเป็นสองอย่าง คือ
    1. เราต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของอารมณ์โกรธนั้น เพื่อให้เกิดความกลัว และ เข็ดหลาบ ที่จะไม่โกรธอีก เรียกว่า ให้มี หิริโอตปปะ ให้ได้ ซึ่งมันจะเป็นตัวช่วยให้เกิดพลังในการจัดการกับความโกรธในครั้งต่อไปมากขึ้น
    2. เราต้องพิจารณาให้เห็น ธรรมชาติของความโกรธเอง คือดูมันตามเป็นจริง มองให้เห็นถึงแก่นแท้ธรรมชาติของมัน ที่เต็มไปด้วยความไม่เที่ยง เป็นมายา หาตัวตนจริงๆไม่ได้ หากเราแจ้งชัดในสิ่งนี้บ่อยๆ เราถึงจะวางความโกรธได้ ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยความสงบในการเฝ้าดูสังเกตธรรมชาติของมันยามเมื่อมันปรากฏ ดูมันไปเรื่อยๆ อย่าด่วนสรุปว่าเรารู้หรือเข้าใจแล้ว ยิ่งดูนานๆ เราก็ยิ่งเข้าใจมันได้มากและแยบคาย
  3. แปรเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่
    คนเรา(นักปฏิบัติ)มักจะมองอารมณ์โกรธนี้เป็นของไม่ดี จนเกิดความเกลียดชัง และต้องการที่จะกำจัดมันไปให้เร็วที่สุด เมื่อเรารู้สึกเช่นนี้ มันยิ่งทำให้เราขัดเคืองกับความโกรธของเราเอง
อ่านต่อ
ความเป็นกลางในการรับรู้

ความเป็นกลางในการรับรู้

“บารดารบอม” ไม่ทราบว่าจะอ่านคำนี้ว่าอย่างไร ไม่แน่ใจว่าพิมพ์ผิดหรือเปล่าคะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ


ชื่อบุคคลนั้นสำคัญไฉน ในการปฏิบัติ เนื้อหาสาระที่สอนสั่งสิ เป็นเรื่องสำคัญ

เขาพิมพ์ผิด? หรือ เราอ่านไม่ออก? เหตุแห่งความคิดทั้งสองนั้นอยู่ต่างกันไกล

หากมองเห็นเหตุที่แท้จริงได้ ย่อมมีผลมากในการปฏิบัติ

ในการรับรู้นั้น (ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา หู ฯลฯ) เราจำต้องวางใจให้เป็นกลาง ไม่ให้การปรุงแต่งทั้งหลายมามีอิทธิพลต่อเรา ซึ่งการปรุงแต่งนั้นไม่ว่าจะเป็น ความพอใจไม่พอใจ ความเชื่อไม่เชื่อ ความศรัทธาไม่ศรัทธา ฯลฯ ก็ล้วนมาจากเหตุหลักคืออัตตาทิฐิของเราทั้งสิ้น ซึ่งมันจะทำให้เราไม่สามารถเห็นหรือรับรู้ทุกสิ่งได้ตามสภาพความเป็นจริง

นักปฏิบัติเรามักจะคิดว่า การเห็นตามความเป็นจริงนั้น คือ การเห็นโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นก็จริงอยู่ แต่มันเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น แต่มันต้องหมายถึงการเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง ทั้งความจริงทางสมมติ และ ความจริงทางปรมัตถ์… อ่านต่อ

การปฏิบัติต่อครูอาจารย์

การปฏิบัติต่อครูอาจารย์

กรณีอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์รื่นเริง จิตเราจะรื่นเริง ถ้าครูบาอาจารย์ดุ จิตเราจะตกหรือหวั่นไหว ถ้าครูบาอาจารย์สงบ จิตเราจะนิ่ง ถ้าครูบาอาจารย์ไม่สนใจ จิตเราจะกังวลหรือไม่สบายใจ ทราบว่าสาเหตุทั้งหมดเกิดจากจิตเราไม่มั่นคง หวั่นไหว และไปผูกติดกับครูบาอาจารย์ กลัวครูบาอาจารย์จะไม่ชอบและไม่พอใจ ฉะนั้นเราควรจะวางตัว วางกาย และวางใจของเราเอง และปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์อย่างไร?


 เข้าใจถูกแล้วที่ว่า ทั้งหมดมันเป็นเพราะความยึดมั่นถือมั่นของตัวเราเอง แต่มันเป็นเพียง การเข้าใจยังมิได้เข้าถึง, เข้าสมองแต่ยังไม่เข้าใจ

เพราะเรายึดมั่นถือมั่นในตัวเรา เราจึงยึดมั่นในตัวครูบาอาจารย์ เมื่อยึดมั่นถือมั่นในครูบาอาจารย์ ก็เลยมัวแต่มองท่าน ไม่มองตน มองตอนแรกก็เพียงอยากให้ท่านชื่นชม อยากเป็นคนเก่งในสายตาท่าน เรียกว่า ติดดี และก็พยายามทำดีทุกอย่างเพื่อที่จะให้ท่านเห็นว่า เราดี แต่พอดีไม่ได้ดี ก็เลยชักจะใจไม่ดี พอมองไปมองมาด้วยใจที่ไม่ดี ก็เลยพาลไปเพ่งโทษจับผิดจับถูกท่าน เริ่มต้นก็ดูดีแต่ไปๆ มาๆ ชักไม่ดี สาเหตุใหญ่ก็เพราะ อัตตาตัวตน ที่มันไม่ยอมมองตน

การมองตน พิจารณาตน เตือนตน แก้ไขตน นั่นเป็นกุศลมีแต่ความเจริญ
จนถึงที่สุดหลุดพ้น แต่การมองผู้อื่น เพ่งโทษ หรือเพ่งคุณผู้อื่นก็ตาม
นั่นเป็นทางเสื่อม จะนำมาซึ่งโทษภัย ควรละเสีย
ยิ่งหากผู้อื่นนั้นเป็นครูบาอาจารย์ ยิ่งมีโอกาสเกิดโทษมหันต์

ดังนั้น มันจึงไม่ต้องทำใจใดๆ ไม่ต้องวางใจ หรือวางกายอะไร เพราะหากยังคงยึดใจอยู่เช่นนั้น ก็ย่อมมีใจที่ไม่ดี ซึ่งจะมีผลเป็นกรรมหนักในที่สุด

มันจึงต้องใช้หลักข้อแรกๆ ของวิปัสสนานั่นแหละคือ

มองตน อย่าด่วนสรุป

คนเรา(แม้นักปฏิบัติก็ตาม) ชอบเอาความเห็นของตน ไปเป็นมาตรวัดผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งเราไม่สามารถจะเข้าใจเขาได้เลยตามความเป็นจริง

เทคนิคของการมองให้เห็นตามความเป็นจริง คือ การมองด้วยใจที่บริสุทธิ์ อย่าเอาถูกเอาผิด อย่ายึดจริง ยึดไม่จริง หรือพูดง่ายๆ อย่าให้ความเห็นต่างๆของเรามาแทรกแซงปรุงแต่ง เรียกว่า เห็นสักว่าเพียงการเห็น ไม่หลงให้คุณค่าความหมาย

เมื่อต้องสัมผัสสัมพันธ์กับผู้อื่น ตานอกมองเขาเพื่อทักทายโอภาปราศรัย แต่ตาในต้องมองตน อย่าให้โจรร้าย คือความคิดปรุงแต่งทั้งหลายของเรา เข้ามาปล้นใจอันบริสุทธิ์ของเราไป นั่นล่ะคือความหมายของคำว่าปล่อยให้การรับรู้ทั้งหลายเป็นไปเองตามธรรมชาติของมัน แต่ภายในคงแจ้งต่อความสงบเย็นของจิตเดิมแท้อยู่ตลอดเวลา

เราพากเพียรฝึกปฏิบัติมาก็เพื่อสิ่งนี้ หากไม่มีสิ่งนี้เราก็ไม่มีทางเห็นตามความเป็นจริงได้ เมื่อไม่เห็นตามความเป็นจริง มันก็ต้องหลงยึดติด และเป็นทุกข์ในที่สุด รวมทั้งก่อกรรมใหม่อีกมากมาย

ส่วนเรื่องการปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มันออกมาจากใจที่กตัญญูรู้คุณ และเคารพนับถือ ไม่ใช่ยึดมั่นถือมั่น

ความกตัญญู เคารพนับถือ เป็นคุณงามความดี ที่เป็นคุณสมบัติรากฐานของวิปัสสนา มันจะนำมาซึ่งความอ่อนน้อมถ่อมตนโดยมิได้หวังผลในสิ่งใด

แต่ความยึดมั่นถือมั่นนั้น แม้จะแสดงออกด้วยความอ่อนน้อม แต่ภายในก็เต็มไปด้วยการหวังผลทั้งสิ้น อย่างน้อยก็อยากให้ท่านพึงพอใจ แต่ส่วนมาก ก็อยากดี อยากเด่น อยากเอาหน้า ซึ่งนั่นแหละเป็นเหตุแห่งความเสื่อมในอนาคต

ดังนั้น เมื่อปฏิบัติกับท่านภายนอก (วจี และ กาย) ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
ภายในต้องมองตนอยู่เสมอเช่นกัน ให้จิตใจเราบริสุทธิ์ และสงบเย็น
มิได้อยากหรือปรารถนา หรือต้องการ หรือปรุงแต่งอันใด
แต่กระทำออกไปเพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์

โดยสรุป ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เมื่อรู้ว่ามันไม่เป็นประโยชน์ มันไร้สาระ ก็อย่าไปทำ
เมื่อรู้ว่าเป็นประโยชน์ มีสาระ ก็จงทำ
แต่ภายในก็ต้องมองตน คอยรักษาใจอันบริสุทธิ์สงบเย็นไว้
อย่าให้อารมณ์ หรือการปรุงแต่ง อยากได้ กลัวเสีย อยากถูก กลัวผิด
มามีอิทธิพลกับใจตนเด็ดขาด

 

เจริญธรรม

อาจารย์หมอ… อ่านต่อ

การจัดการกับโมหะ

การจัดการกับโมหะ

ปัจจุบันโมหะเป็นกิเลสที่ผมพบบ่อยที่สุดเกิดขึ้นนาทีละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เนื่องจากเกิดถี่มากการพิจารณาสภาวะนั้นโดยใช้ธรรมคู่จึงไม่ practical จึงใช้วิธีรู้เอาว่าเผลอไปคิด หรือเผลอไปเหม่อทุกครั้ง ทันทีที่เผลอไปแล้วมีสติระลึกรู้ขึ้นมาทันที แต่ก็ไม่เกิดปัญญามากนัก นอกจากทราบว่าโมหะเกิดแล้วก็ดับตามกำลังสติที่อ่อนลงและวิบากที่เจอในขณะนั้น ถึงจะรู้แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ จึงอยากขอคำแนะนำในการดูโมหะให้เกิดปัญญา


 ปัญญาแห่งธรรมคู่ เป็นปัญญาที่ใช้เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากความเอนเอียงที่เข้าไปจมแช่ในข้างใดข้างหนึ่งของการปรุงแต่ง จะเห็นได้ง่ายในระดับหยาบๆที่เราให้คุณค่าความหมาย เช่น สั้นยาว กว้างแคบ สว่างมืด ดีไม่ดี ถูกผิด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการปรุงแต่งระดับสมอง จึงทำความเข้าใจได้ด้วยการคิดพิจารณาแบบที่เราเคยชินในวิสัยโลกๆ

มันจึงเป็นพื้นฐานที่เราต้องฝึกให้มาก เพื่อเกิดความเข้าใจลีลาของกิเลสที่มันลวงหลอกจิต แต่ธรรมคู่มิได้มีเพียงเท่านั้น มันยังมีละเอียดลงไปเรื่อยๆจนที่สุดถึงตัวต้นเหตุของสังสารวัฏเลย ซึ่งมันจะซ้อนกันอยู่อย่างซับซ้อน แต่เราไม่รู้เท่าทันมัน เพราะกำลังเรายังไม่พอ เราจึงต้องหมั่นฝึกฝนตั้งแต่หยาบไปก่อนเรื่อยๆ และมันก็แบบเดียวกันกับธรรมทุกชนิด สิ่งที่หยาบ เราก็ใช้การคิดพิจารณาได้ แต่พอละเอียดเข้าไป ต้องใช้การพินิจพิจารณา คือเรียนรู้ ดูด้วยตาปัญญาเป็นหลัก แต่การเรียนรู้ดูภายในก็ไม่ใช่การสอดส่องมองหา เพื่อให้รู้ เพื่อให้ได้อะไรสักอย่าง นั่นมันเป็นตัณหา ซึ่งเช่นนั้น มันไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ และนี่ล่ะคือปัญหาสำคัญในปัจจุบันนี้

นักปฏิบัติส่วนมาก ศึกษาอ่านมามาก เรียนรู้กันมามาก สัญญาจำมันมากเกินไป เลยอยากรู้อยากเห็น อยากได้ ดี มี เป็น ก็เลยต้องตกร่องของตัณหา ซึ่งก็คือความหลงโดยไม่รู้ตัว อย่างที่พูดเสมอว่า มันหลงโดยไม่รู้ว่าตนหลงนั่นล่ะ

แม้ในสติปัฏฐานสี่ จะบอกว่าให้เรียนรู้ดูจิตอย่างนั้นอย่างนี้ มากมาย นั่นก็ไม่ใช่การที่เราจะต้องไปมองหามัน หรือคอยกำหนดจดจ้องมัน ไม่ใช่การที่เราจะต้องรู้ให้ได้ไปเสียทุกสิ่ง หากคิดเช่นนั้น นั้นก็ความหลงอีก แต่พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้หมาย ความว่าให้ไม่สนใจที่จะเรียนรู้อีก เพราะทั้ง ต้องรู้ให้ได้ และไม่สนใจจะรู้ ก็เป็นธรรมคู่ทั้งนั้น ซึ่งมันเป็นผลจากความหลงอีกเช่นกัน

ที่ท่านกล่าวถึงจิตมีโลภะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ จิตหดหู่ ฯลฯ นั่นท่านให้เรารู้จักตามความเป็นจริงที่มันปรากฏ ทำความเข้าใจในตัวมัน สังเกตเรียนรู้มัน แล้วก็ยอมรับธรรมชาติของมันตามที่มันเป็นอยู่ของมัน

ไม่ใช่เราจะต้องไปกระทำอะไรกับมัน หรือ ไปแทรกแซง (Interfere) มัน และที่สำคัญคือ เมื่อรู้แล้วก็ทิ้งซะ ทิ้งความรู้ที่เกิดนั่นล่ะ ให้ทุกสิ่งมันใหม่เสมอไม่ต้องไปเก็บความรู้เก่าให้มันคั่งค้าง

ผู้ฉลาดย่อมไม่หลงว่าตนฉลาด ผู้รู้จริงย่อมไม่หลงว่าตนรู้ ผู้หลุดพ้นย่อมไม่หลงว่าตนหลุดพ้น มันจึงไม่ต้องสนใจที่จะสะสมสิ่งที่รู้ไว้ แค่รู้ และยอมรับให้ได้ในทุกธรรมชาติตามที่มันปรากฏเท่านั้น

เพราะฉะนั้น หัวใจสำคัญของมหาสติปัฏฐานสี่ คือ ท่านต้องการให้เรา มองตนเอง เรียนรู้ธรรมชาติของตัวเราเอง เข้าใจ และยอมรับมัน เมื่อเราเรียนรู้ตัวเราเอง มองตัวเราเองอย่างถูกวิธีเช่นนี้ นั่นแหละเรากำลังวางตัวเราเอง เรากำลังเป็นอิสระ

นิ้วที่ชี้ไปดวงดาว ไม่ใช่ดวงดาว สิ่งที่ท่านบอก มันเป็นกุศโลบายให้เราแจ้งในสิ่งที่ท่านต้องการให้เราแจ้ง แต่มันก็ไม่ใช่ตัวสิ่งนั้น แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าสิ่งนั้นมันไม่มีภาษาหรือสมมุติใดที่จะให้เรารู้ได้ นอกจากการใช้กุศโลบายเท่านั้น

เมื่อมันไม่มีสมมุติ มันนอกเหนือภาษา มันจึงใช้แนวทางแบบโลกๆ ไม่ได้ แต่คนเราก็เคยชินอยู่แต่กับแนวทางการเรียนรู้แบบโลกๆ มันจึงไม่สามารถที่จะเข้าไปแจ้งในสิ่งนั้นได้ง่ายนัก

แต่หากไม่อธิบายด้วยแนวทางแบบโลกๆ ก็ไม่รู้จะสื่อกันอย่างไร แต่เมื่อสื่อกันแบบโลกๆ ก็กลับทำให้ไปเข้าใจในแบบโลกๆ อีก มันจึงไม่สามารถเข้าใจมันได้จริง ก็เลยไม่สามารถแจ้งต่อสิ่งๆ นั้นได้อีกเช่นกัน

นี่ล่ะปัญหาที่น่าเวียนหัวในการถ่ายทอดธรรมะ เพราะจริงๆแล้วการถ่ายทอดธรรมะที่แท้จริงจะเกิดจากจิตสู่จิตเท่านั้น มิได้เกิดจากคำพูดหรือภาษาเลย

ถึงพูดเสมอว่า ท่านพูดไม่ผิด แต่เราฟังไม่ถูก

และทั้งหมดมันก็เกิดมาจากจิตที่มีโมหะนั่นล่ะ เพราะฉะนั้น ในโมหะจิตมันจึงมีหลายระดับมากมาย จากหยาบๆ ที่เรารู้จักกันในลักษณะจิตที่สงสัย ลังเล วิตกกังวล ไปจนถึงจิตที่หลงจมแช่กับอารมณ์ ลงไปเรื่อยๆจนถึงหลงอัตตาตัวตนนั่นล่ะ

ของแบบนี้มันไม่เหมือนที่เขียนในหนังสือหรอก มันซ้อนกันอยู่ เพราะมันเป็นการปรุงแต่งที่ซับซ้อนเหมือนกองฟางนั่นล่ะ

ดังนั้นการที่เราจะเห็นมันได้ก็ด้วยตาปัญญาเท่านั้น ซึ่งก็หมายถึง … อ่านต่อ

ความเป็นกลางกับการปฎิบัติธรรม

ความเป็นกลางกับการปฎิบัติธรรม

ความเป็นกลางมีความสำคัญต่อการปฎิบัติอย่างไร?


 ความเป็นกลางนั่นล่ะคือการปฏิบัติ หากจิตมิได้ดำเนินอยู่บนความเป็นกลาง แสดงว่าจิตนั้นยังไม่เข้าทางแห่งการปฏิบัติที่แท้จริง ซึ่งนั่นหมายความว่าเราย่อมยังไม่อาจพ้นทุกข์ได้ด้วยการดำเนินของเราเช่นนั้น

ความเป็นกลางนั้น นอกเหนือการปรุงแต่ง มันจึงไม่ใช่สิ่งที่ใครจะพยายามเข้าไปถึงได้ ด้วยการแสวงหา หรือ พยายามให้มันเป็น
ความเป็นกลางนั้นนอกเหนือสมมุติ ซึ่งมิใช่ที่เรามักเข้าใจกันว่า มันเป็นสภาวะที่อยู่ระหว่างสิ่งสองสิ่ง
ความเป็นกลางเป็นผลแห่งการสมดุลกันอย่างพอดีของพลังแห่งสติ สมาธิ ปัญญา ที่ได้อบรมดีแล้ว
ความเป็นกลางนั้นจึงเกิดจากการที่เรามีสติปัญญารู้เท่าทันความเอน หรือ ความปรุงแต่ง ทั้งสองข้างของธรรมคู่
ความเป็นกลางจึงมิได้อยู่ใต้อิทธิพลแห่งความปรุงแต่งใดๆ
ความเป็นกลางจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความอิสระอย่างแท้จริง

ผู้รู้ทั้งหลายจะไม่สรุปว่า ตนอยู่ในความเป็นกลาง เพราะความเป็นกลางมันเป็นสุญญตสภาวะ จึงมิอาจกล่าวได้เช่นนั้น เพียงแต่ตนเห็นและเข้าใจความเซ ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นแม้เพียงนิด….เดียว และด้วยพลังของสติสมาธิปัญญา จึงไม่เผลอปล่อยไปตามความเอนนั้น… อ่านต่อ