Featured
ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่สวนธรรมะโพธิญาณ จ.ชัยภูมิ

สวนธรรมะโพธิญาณ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งก่อกําเนิดขึ้นจากการดําริของท่านอาจารย์หมอดิลก พูนสวัสดิ์ และกลุ่มญาติธรรมผู้มีจิตศรัทธา เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดสรรสถานที่ให้เกิดความสัปปายะเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตที่เกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม

โดยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจวิธีการปฏิบัติธรรมตามแนวทางคําสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกท้ังเปิดโอกาสให้บุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทั้งนักบวช และฆราวาส ที่มีจิตศรัทธาในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ โดยไม่จํากัดเชื้อชาติ ศาสนา ได้มาศึกษาสัจธรรมความจริงของชีวิต ด้วยการเรียนรู้ธรรมชาติกายจิตของตนเอง อย่างสอดคล้องกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ที่กําลังแสวงหาแนวทางในการปฏิบัติธรรมได้เข้าใจวิถีทางในการดําเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตรงทาง และเกิดความเห็นที่ถูกต้องในการปฏิบัติธรรม อันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญของการฝึกฝน ปฏิบัติ เรียนรู้ และพัฒนาจนทําให้เกิดปัญญาเพื่อการดําเนินจิตไปสู่ความพ้นทุกข์ในที่สุด

เมื่อเข้าใจชัดในสุญญตา ความรักความเมตตาจึงจะบริสุทธิ์ และเมื่อความรักความเมตตาบริสุทธิ์ จึงจะเข้าถึงสุญญตาที่แท้จริง

– อาจารย์หมอ

หากบนเส้นทางแห่งความพ้นทุกข์ เรากลับขาดซึ่งความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์
เช่นนั้นแล้ว 
ความพ้นทุกข์แต่เพียงผู้เดียวของเรา จะมีประโยชน์อันใดแก่โลก?

หากความพ้นทุกข์ คือการรู้แจ้งหลุดพ้นจากความหลงยึดติดโดยความเป็นตัวตน
เช่นนั้นแล้ว
บนทางเดินนี้ เราจะดำเนินไปด้วยความเห็นแก่ตัวเราเองได้อย่างไร?

และหากเราเดินไปบนทางๆนี้ โดยคำนึงถึงแต่เพียงตัวเราเองผู้เดียว
เช่นนั้นแล้ว
แน่ใจหรือว่า เรากำลังดำเนินไปสู่การหลุดพ้น จากการยึดติดโดยความเป็นตัวตน?

– อาจารย์หมอ

อ่านต่อ
ทางที่เราต้องฝึก

ทางที่เราต้องฝึก

ประสบการณ์ทุกอย่าง ย่อมถูกเปลี่ยนเป็นปัญญาได้ เมื่อเราสามารถ เปิดใจ เรียนรู้ ยอมรับมันด้วยความอดทน

แท้จริงทุกสิ่งเป็นเพียงภาพมายา เราจึงไม่ต้องไปอะไรๆท่ามกลางการปรากฏของมัน

แต่บนความเป็นมายานั้น มันก็มีสมมุติอันเป็นมายาซ้อนอยู่ เราจึงต้องเรียนรู้และจัดการมันให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน

แต่บนการจัดการเพื่อประโยชน์ ก็ต้องปราศจากการยึดติดใดๆทั้งสิ้น… อ่านต่อ

มันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง

มันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง

การพิจารณาใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกธรรม เรื่องธรรมคู่ หรือแม้กระทั่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตา
มันเป็นการพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งในความจริงตามเป็นจริง

ผลแห่งการพิจารณาคือจิตใจมันยอมรับ
มันยอมรับเพราะมันเห็นว่า มันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง ใครไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้

เมื่อเห็นความเป็นธรรมดาเช่นนั้น จิตก็จะคลายตัวออกจากความยึดติดของมันเอง… อ่านต่อ

หลงยึดในคุณค่าความหมาย

หลงยึดในคุณค่าความหมาย

ทำไมคนเราถึงหลงรักหลงเกลียดสิ่งต่างๆเล่า

ก็เพราะคนเราหลงยึดในความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจที่ปรากฏ

แล้วทำไมคนเราถึงหลงยึดมั่นในความพอใจไม่พอใจที่ปรากฏนั้น

โดยภายนอกเพราะเราหลงยึดมั่นความหมายและคุณค่าที่เราปรุงแต่งขึ้นเองต่อสิ่งนั้น ว่ามันจริงๆเช่นนั้น

ในขณะเดียวกัน โดยภายในเราก็หลงยึดในอารมณ์ที่พอใจหรือไม่พอใจนั้นโดยความเป็นตัวตนของตน

เมื่อสองอัตตาเกิดขึ้น ทุกสิ่งก็ดูจริงไปหมด… อ่านต่อ

ประตูนรก

ประตูนรก

เพราะไม่เห็นแจ้งในสภาพดั้งเดิมอันว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนใดๆ จึงเกิดอวิชชาความหลงในความเป็นตัวตน

เพราะมีอวิชชาความหลงโดยความเป็นตัวตน จึงก่อเกิดอัตตาทิฐิ อันเป็นพื้นฐานในการรับรู้ของสัตว์

เพราะมีอัตตาทิฐิ เป็นพื้นในการรับรู้ จึงนำไปสู่อัตตานุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นตัวตน

ตัวตนจึงแบ่งได้หลายระดับ จากภายในสู่ภายนอก จากการปรุงแต่งที่ละเอียด สู่การปรุงแต่งอันซับซ้อนหยาบและใหญ่โต

ความทุกข์ก็จะรุนแรงขึ้นตามระดับแห่งการปรุงแต่งความเป็นตัวตนนั้นด้วย… อ่านต่อ

รู้เท่าทัน หมั่นสังเกต

รู้เท่าทัน หมั่นสังเกต

ปัญหาของการสลายกรอบแห่งอัตตาตัวตนที่สำคัญคือเราไม่รู้เท่าทันความเป็นจริงยามเมื่อมันปรากฏ

นักปฏิบัติน่าจะเคยได้ยินและพิจารณามากันพอสมควรแล้วว่า สิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นตัวตน
(หากยังไม่เคยก็หัดไปศึกษาพิจารณาเสียก่อน ให้จิตมันยอมรับให้ได้)

แต่แม้พิจารณาได้ จนเกิดความเข้าใจแจ่มชัด จนคิดว่าจิตมันยอมรับแล้ว นั่นมันยังเป็นของปลอม มันยอมรับได้แค่ความคิด หรือที่เราเรียกว่า ปัญญาสัญญา
เราจึงต้องนำความรู้ความเข้าใจหรือสัญญานั้นมาภาวนาอีกทีหนึ่ง

การภาวนานั้นแยกออกอีกเป็นสอง คือ… อ่านต่อ

ชีวิตคือกระแสเหตุปัจจัย

ชีวิตคือกระแสเหตุปัจจัย

มนุษย์หลงเข้าไปหมายมั่นในปรากฏการณ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น แล้วให้ความหมายให้คุณค่าแก่มัน บนพื้นฐานแห่งความหลงเดิมๆของตน

เมื่อหลงหมายมั่นก็ยึดมั่นถือมั่นมันว่าเป็นจริงๆ เช่นนั้น สร้างกรอบแห่งอัตตาตัวตนอันแข็งกร้าวขึ้น
และหากยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น ก็ปรุงแต่งต่อเติมด้วยสัญญาความหลงเดิมๆสร้างความยึดมั่นอันรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆจนกลายเป็นทิฐิมานะ สร้างตัวกูอันใหญ่โตขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น ตนก็จะถูกขังไว้ในโลกอันคับแคบและบอบบางที่ตนได้หลงสร้างขึ้นเอง
กระแสเหตุปัจจัยถูกกลบเกลื่อน เหลือแต่สิ่งเดี่ยวๆที่จริงแท้ และกรอบแห่งตัวตนอันแข็งกร้าวมากมาย… อ่านต่อ

พากเพียรไว้เมื่อมีโอกาส

พากเพียรไว้เมื่อมีโอกาส

ผลหนึ่งของการปฏิบัติธรรมก็คือ
การยอมรับโลกตามเป็นจริง
และสามารถสอดคล้องกับมันให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

แต่การที่คนเราจะยอมรับเช่นนั้นได้ มันไม่ใช่ง่าย มันขึ้นอยู่กับความหลงที่เขายึดและกำลังบารมีที่เขามี

ดังนั้นเราจึงต้องพากเพียรเสริมสร้างบารมีเพื่อให้มีกำลังพอที่จะสอดคล้องกับความจริงของโลกให้ได้… อ่านต่อ

หน้าที่

หน้าที่

ชีวิตคนเราเหมือนกับต้นไม้เล็กๆ ที่ขึ้นในดินที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์

มันเป็นหน้าที่ของต้นไม้นั้นที่จะต้องเจริญเติบโต จนแผ่กิ่งก้านสาขา ให้ร่มเงา ให้หมากผล เพื่อประโยชน์แก่สัตว์และต้นไม้อื่นต่อไป

ยามเหตุปัจจัยเหมาะสมก็ทิ้งใบ คายอ๊อกซิเจน ลงสู่พื้นดินและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อากาศดีขึ้น ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น

เมื่อหมดอายุขัยก็ตายลง เสียสละทุกสิ่งที่เคยมีบำรุงดินนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไปอีก

นี่ล่ะคือชีวิต คือหน้าที่ของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา… อ่านต่อ

ความพอใจไม่พอใจ 3 ระดับ

ความพอใจไม่พอใจ 3 ระดับ

ถาม:
ผมขอถามปัญหาอีกข้อครับอาจารย์พอดีได้ยินจากคลิป มหาสุญญตา อาจารย์มีพูดถึงการแบ่งความพอใจและไม่พอใจออกเป็น 3 ระดับ อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายว่ามีอะไรบ้างครับ

ตอบ:
ความพอใจไม่พอใจ 3 ระดับ – หยาบ กลาง ละเอียด

1. ระดับหยาบ คือความพอใจหรือไม่พอใจที่แสดงออกในอุปกิเลส เช่น พยาบาท อิจฉา อยากจนห้ามใจไม่ได้ ฯลฯ อันนี้หยาบมาก แต่คนเราก็ไม่เห็น เพราะมัวแต่เลยไปหลงกับอารมณ์นั้นๆแล้ว ระดับนี้หากยังไม่สามารถรู้และละได้ก็ยากที่จะพัฒนาต่อ

2. ระดับกลาง ที่เรารู้สึกพอใจไม่พอใจกับสิ่งต่างๆ แต่ยังไม่พุ่งพล่านออกไป อันนี้เป็นสิ่งที่เราควรอย่างยิ่งที่จะหัดรู้เท่าทันและละให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการปรุงแต่งต่อไปสู่อุปกิเลส… อ่านต่อ

พรปีใหม่

พรปีใหม่

ปัญหาความยุ่งยากทั้งหลายในชีวิต เป็นบททดสอบที่จะทำให้เราเกิดปัญญาและความเข้มแข็ง ถ้ารู้จักเปิดใจ เรียนรู้ และยอมรับมันด้วยความอดทน

จงมองให้เห็นความจริงว่า ความทุกข์มันอยู่ที่ตัวเราเองปรุงแต่งทั้งสิ้น อย่าไปโทษใครหรือสิ่งใดเลย อย่าพยายามหลบหนี กลบเกลือน หรือเบี่ยงเบน
หากเรา รู้จักมองตน เรียนรู้ตน แก้ไขที่ตน ความทุกข์ก็จะมีวันหมดสิ้นได้

เราจึงต้องมีศรัทธา มุ่งมั่นจริงจัง และอดทนพากเพียรเพื่อไปสู่ความพ้นทุกข์

สิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อความพ้นทุกข์ ของนักปฏิบัติสมัยนี้คือ ความประมาทนอนใจ คิดว่าธรรมที่ตนรู้ ที่ตนมีนั้นมันจะคุ้มกะลาหัวตนได้ ……มันยังอีกไกล อย่าได้หลงเช่นนั้นเลย… อ่านต่อ