Browsed by
Tag: การทำความดี

ความดี คือ อะไร?

ความดี คือ อะไร?

ความดี คือ อะไร?
ความดี คือ สิ่งที่ทำแล้วเป็นประโยชน์
ประโยชน์ คือ ทำให้ตัวเราเองและผู้อื่นไปสู่ความพ้นทุกข์
การทำประโยชน์ทั้งหลายจึงต้องตั้งอยู่บนรากฐาน 2 อย่าง คือ

  1. เป็นไปเพื่อลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของตน
  2. ประกอบด้วยความรักและปรารถนาดีต่อผู้อื่น

แต่มนุษย์กลับทำดี เพื่อการได้ดี มี เป็น ของตัวเอง
ความดี จึงผิดเพี้ยน
มนุษย์จึงยึดดี ติดดี และในที่สุด ก็ทุกข์เพราะความดี… อ่านต่อ

ความดี vs ความยึดดี

ความดี vs ความยึดดี

ความดีนั้น จงทำให้เต็มที่ ตามเหตุปัจจัย แต่ยึดติดอะไรไม่ได้

ความดี คือ การละสิ่งไม่ดี เจริญสิ่งดีๆ และไม่ยึดอะไรเลยทั้งนั้น

เพราะการยึด(แม้แต่ความดี) มันก็คือความไม่ดี เป็นทางเสื่อม

เมื่อรู้ว่าอะไรไม่ดีก็ละให้ได้ อะไรดีก็เจริญให้ยิ่งขึ้นไป

การไม่ยึดดี มันไม่ใช่เราจะไม่ยอมละสิ่งไม่ดี ไม่เจริญสิ่งดี เพราะกลัวจะเป็นการติดดี
นั่น! ก็เป็นการยึดดีอีกเช่นกัน

ความติดดี กับ ความดี มันคนละเรื่องกัน มันห่างกันไกล แต่มันก็มักมาด้วยกันเสมอ

ความติดดี มันเกิดจากความหลงในทิฐิทั้งสาม

ทิฐิทั้งสาม สร้างให้เราเกิดความอยากดี และกลัวจะไม่ดี

และสิ่งนี้ล่ะ มันบีบคั้น กดดันเรา ทำให้เราทุกข์
ทุกข์เพราะความดี

ดีได้ก็สร้างเหตุแห่งทุกข์ต่อ
ดีไม่ได้ก็เกลียดตัวเอง หดหู่ เสียใจ ทุกข์ใจ… อ่านต่อ

สติและปัญญา

สติและปัญญา

รากฐานของจิต มันมี 2 นัย คือ นัยแห่งสติ และนัยแห่งปัญญา

  1. สติ คือ การรู้เท่าทันกายใจของตน
  2. ปัญญา คือ ความเข้าใจโลกตามความเป็นจริง ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ

สองสิ่งนี้เมื่อประกอบกัน จิตจะเป็นสุข เบิกบาน และอิสระ ควรค่าแก่งานสร้างสรรทั้งปวง

ฟากสติ เราฝึกหัดได้ด้วยการฝึกสติทั้งสาม

ส่วนฟากปัญญา เราพัฒนาได้ด้วยการ คิดดี ทำดี พูดดี เจริญกุศลให้มาก และเรียนรู้สังเกตความจริงของรูปนามอยู่เสมอ

การคิดดี ทำดี พูดดีนั้น เป็นสิ่งที่มีคุณอย่างยิ่ง
นอกจากมันจะทำให้เกิดสิ่งดีๆแก่ผู้อื่นและสังคมแล้ว
มันยังจะทำให้จิตของเราพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

จิตที่ประกอบคุณความดี จะเบา เบิกบาน และเป็นสุขอันละเอียด ซึ่งเป็นรากฐานของการหลุดพ้น

หากเราคิดดีอยู่เสมอ (บนรากฐานแห่งความเป็นจริง) จิตจะมีความเคยชินกับอาการของตัวมันเอง ซึ่งมันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งหลุดพ้นในที่สุด… อ่านต่อ

ธรรมะวันนี้

ธรรมะวันนี้

ศีลวินัย กฏระเบียบ ข้อตกลง สิ่งดีๆทั้งหลายที่สังคมได้กำหนดกันไว้นั้น เป็นสิ่งที่ดีงาม ทำให้สังคมอยู่อย่างเป็นสุข เกิดประโยชน์สูงสุด แต่เราก็ต้องมีหลักในการใช้มันดังนี้

  1. ใช้ดูตัวเรา บังคับตัวเรา ควบคุมตัวเรา ฝึกตัวเรา ไม่ใช่ผู้อื่น
  2. เมื่อเราทำได้ ก็อย่าหลงว่าเราดี หรือแตกต่างจากผู้อื่น เพราะมันจะเป็นช่องให้มารคือ มานะ เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นเหตุแห่งทุกข์ต่อไปอีกมากมาย
  3. ในทุกสังคมย่อมมีทั้งคนที่ดีและไม่ดี หน้าที่ของเราคือทำความดีตามหน้าที่ของตน เราไม่มีหน้าที่ไปเปลี่ยนใคร มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมาก
  4. แม้สังคมจะมีทั้งคนรักษากฏและคนไม่รักษากฏ ซึ่งพวกหลังย่อมก่อให้เกิดความวุ่นวายกับสังคมมากมาย และมักจะมีจำนวนไม่น้อยเสียด้วย แต่ความรักความสามัคคีเป็นกุศลที่สำคัญยิ่งกว่า และมีคุณกว่าความโกรธและเกลียดชังมากมายนัก
  5. การแสดงออกของคน ในการไม่รักษากฏ ย่อมมีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน เราไม่อาจรู้หรือเข้าใจใครได้แท้จริงหรอก
  6. และแม้เขาจะขาดความรับผิดชอบจริงๆ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่เราจะไปหงุดหงิดในความไม่ดีของคนอื่น ในเมื่อมีกรรมสัมพันธ์กันมาก็ต้องฝึกต่อไปว่า เราจะวางได้หรือเปล่า เพราะอย่าลืมสิว่า ทั้งหมดมันคือ ความคิดปรุงแต่งของเราเองทั้งสิ้น

ดังนั้น จงใช้สิ่งดีๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดีกว่าเอามันมาสร้างทุกข์ให้กับตน

หากเรา deal ให้ดี มันก็มีแต่คุณ

 

เจริญธรรม

อาจารย์หมอ… อ่านต่อ

การละชั่วทำไมทำยากกว่าการทำดี?

การละชั่วทำไมทำยากกว่าการทำดี?

การละชั่วทำไมทำยากกว่าการทำดี?


 สำหรับพวกเราแล้วอย่าได้ใช้คำว่า “ชั่ว” เลย มันดูรุนแรงไป
“ชั่ว” ขอให้หมายถึงสิ่งที่เลยอุปกิเลสขึ้นไปมากๆ ซึ่งคือการ เบียดเบียนผู้อื่นจนผิดศีล

แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของพวกเรานั้น คือการกระทำไม่ดีผิดหลักธรรม ซึ่งสาเหตุหลักคือ เราไม่สามารถ เอาชนะอำนาจกิเลสในตัวเราได้

และอีกข้างหนึ่ง การทำดีของพวกเรา ส่วนใหญ่ก็ทำเพราะยึดติดในดีนั้น

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ต่างสะท้อนให้เห็นว่า พวกเราล้วนเดินไปตามอำนาจอัตตาตัวตนของเราทั้งสิ้น

ทำดีก็เพื่อส่งเสริมตัวตน มันจึงทำได้ง่าย
ละสิ่งไม่ดีทำได้ยาก ก็เพราะไม่อาจชนะอำนาจตัวตนของเราได้อีกเช่นกัน

ดังนั้น หากเราสามารถพิจารณาตรงลงไปเพื่อลดอัตตาตัวตนของเราได้ มันก็จะง่าย และเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว

แต่หากยังไม่สามารถทำได้ เราก็ต้องแยกจัดการเป็นสองมุม คือ

มุมหนึ่ง จัดการกับความไม่ดี และอีกมุมหนึ่ง ป้องกันการเกิดอัตตาตัวตน ยามเมื่อทำดี

ซึ่งการจัดการกับความไม่ดีนั้น เราทำได้ดังนี้คือ

  1. พิจารณาให้เห็นโทษของสิ่งนั้นอย่างแจ้งชัด จนจิตมันยอม มันกลัวหากจะทำไม่ดีเช่นนั้นอีก
  2. พิจารณาดูเหตุและปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำไม่ดีนั้น แล้วพยายามกำจัดเหตุเหล่านั้นเสีย
  3. พิจารณาดูอาการนำและลีลาของมันตั้งแต่ต้นจนเกิดการทำไม่ดีเช่นนั้น
  4. นำปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาทั้งหมดนั้น มาเป็น โปรแกรมสำหรับตั้งสติ เพื่อการตระหนักรู้เท่าทันและละวาง ยามเมื่อมันจะเกิดขึ้น
  5. ซึ่งแน่นอน เราต้องเฝ้าดูตัวเราเองอยู่เสมอ ยิ่งหากเราสามารถกันไม่ให้เหตุนำมันเกิดขึ้นได้ ก็ยิ่งง่าย เป็นการตัดก่อนเกิด
  6. หากยังพลาดท่าต่อมันอีก ก็ต้องพิจารณาให้มากขึ้น หารูรั่วของเรา แล้วพยายามอุดรูนั้นเสีย

ส่วนมุมที่สองนั้น หลักใหญ่ๆ คือ ยามเมื่อเราทำดี เราต้องละความยึดมั่น 3 อย่างคือ

  • ยึดมั่นในสิ่งที่ทำว่าดี
  • ยึดมั่นว่าเราเก่งเราดี
  • ยึดมั่นว่าเราเป็นผู้ทำดีนั้น

ซึ่งวิธีการได้เคยพูดไปมากแล้ว จะไม่ขอกล่าวซ้ำตรงนี้

ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า การหมั่นมองตน แก้ไขตน เรียนรู้ตน ปรับปรุงตน ต่อไปมันก็จะไม่มียากไม่มีง่าย อะไรอีก

 

เจริญธรรม

อาจารย์หมอ… อ่านต่อ