คู่มือฝึกจิตฉบับสมบูรณ์

คู่มือฝึกจิตฉบับสมบูรณ์

Book Cover: คู่มือฝึกจิตฉบับสมบูรณ์

วิถีแห่งโพธิจิต

โพธิจิต หมายถึง จิตที่มุ่งต่อการบรรลุหลุดพ้นอันสูงสุด เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งปวง ให้พ้นจากทุกข์ ซึ่งมีอยู่สองนัยะ คือ

  1. โพธิจิตอันยิ่ง( Ultimate Bodhicitta ) หมายถึง โพธิจิตด้านใน อันเนื่องกับสุญญตาจิต ซึ่งเจริญได้โดยการฝึกวิปัสสนา พิจารณา สภาวะธรรมภายใน ให้เห็นถึงความเป็นมายาของขันธ์ห้า
  2. โพธิจิตสัมพันธ์ ( Relative Bodhicitta ) หมายถึง โพธิจิตที่สัมพันธ์กับภายนอก อันเนื่องกับมหาเมตตาจิต ซึ่งเจริญได้โดยการฝึก การแผ่ส่งออก และ การยอมรับนำเข้า , การเสียสละตัวตนออกไป , ยอมรับความทุกข์ยากของผู้อื่น และส่งออกความสุขของตนให้แก่สรรพสัตว์

การดำเนิน

  • พิจารณาให้เห็น ทุกสิ่งที่เธอรับรู้ เป็นดังเช่นความฝัน
  • จงค้นหาให้พบ ธรรมชาติของความรู้สึกที่มีอยู่ ก่อนที่จะเกิดความเป็นเธอ
  • จงค่อยๆปล่อยวางวิธีการทั้งหลายที่ใช้ ไว้ตามธรรมชาติของมัน
  • ดำรงอยู่ด้วยความรู้สึกตัวตามธรรมชาติดั้งเดิม อันเป็นรากฐานของทุกสิ่ง
  • ในระหว่างการฝึกวิปัสสนา จงพิจารณาให้เห็นทุกสิ่ง ล้วนเป็นมายา
  • หลังจากการฝึกวิปัสสนา จงพยายามที่จะคงความเข้าใจเช่นนั้นไว้ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย ตัวเธอเอง, ผู้อื่น, สัตว์, สิ่งของ, และสภาพปรากฏการณ์ต่างๆ ล้วนมิได้มีอะไรจริงแท้
  • เมื่อเธอหายใจเข้า จงยอมรับและนำเอาความทุกข์ เศร้าโศก เสียใจ และสิ่งไม่ดีทั้งหลายของโลก รวมทั้งในตัวเธอเอง ซึมซับเข้าไปในหัวใจเธอ , เมื่อเธอหายใจออก จงนำความรู้สึกที่ดี ปีติ และ สุข แผ่ส่งออกสู่สรรพสิ่งทั้งปวง
  • หมั่นฝึกที่จะ แผ่ความสุขให้กับผู้อื่น และ ยอมรับความทุกข์ของผู้อื่น เข้ามาสู่ใจเรา สลับกันไป เป็นประจำ
  • ศึกษาทำความเข้าใจให้รู้จักการเกิดขึ้นของอารมณ์ทั้งสาม ความพอใจ ความไม่พอใจ และความเฉยๆ แล้วเรียนรู้มัน แปรเปลี่ยนเป็นความรักต่อมัน
  • พิษทั้งสาม คือ ความโลภ โกรธ หลง ย่อมเกิดเนื่องเพราะเธอเข้าไปเกี่ยวข้องอารมณ์ทั้งสาม จงตระหนักรู้ถึงมันในทันทีที่มันเกิดขึ้น แล้วพิษทั้งสามนั้นจะกลายเป็นเมล็ดพันธ์แห่งปัญญาอันยิ่ง
  • จงนำคำพูดเหล่านี้ มาใช้เตือนใจของตนเอง ในทุกๆเรื่องที่เธอทำ
  • ให้ฝึกที่จะยอมรับความทุกข์ยากทุกๆเรื่องที่เกิดกับตัวเธอเองก่อน จึงจะสามารถยอมซึมซับรับเอาความทุกข์ยากของผู้อื่นไว้ได้

Published:
Excerpt:


Comments are closed.