Browsed by
Category: Teaching

สัมมาทิฐิ

สัมมาทิฐิ

ทำไม มรรค ต้องเริ่มต้นที่สัมมาทิฐิ?

เพราะคนเรามาจากความหลง
เพราะหลงจึงยึดมั่นถือมั่น
เมื่อยึดมั่นถือมั่น จึงทุกข์

ดังนั้น หากยังมีความเห็นผิด ย่อมไม่มีทางพ้นทุกข์

แล้วสัมมาทิฐิจะมาจากไหน ?… อ่านต่อ

ปัญญาใคร่ครวญ

ปัญญาใคร่ครวญ

สิ่งหนึ่งที่เราต้องฝึกให้มากคือ “ความเป็นกลางในคำพูดของคน”

มันเป็นเพราะคนเรายังยึดติดในคำชมคำด่า อยากดีกลัว(เขาว่า)ไม่ดี มันเลยทำให้ใจเราไม่เป็นอิสระ และทำให้เราหวั่นไหวยามเมื่อคนอื่นเข้าใจการกระทำของเราต่างออกไป

เราจึงจำเป็นต้องพิจารณาและฝึกใจให้มากดังนี้

1. มองให้เห็นว่า การที่ใครจะชมจะด่า มันเอาแน่อะไรไม่ได้ ใครชอบใครถูกใจตอนนั้น เขาก็ชม ใครไม่ชอบไม่ถูกใจเขาก็ด่า เวลาสถานที่เปลี่ยนไปคนๆเดียวกันก็อาจเปลี่ยนใจไปได้

ดังนั้นจงอย่าได้เกลียดคนที่ด่าหรือรักคนที่ชมเลย มันไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารให้จับฉวยไว้… อ่านต่อ

ทบทวนหลักการพิจารณา

ทบทวนหลักการพิจารณา

ขอทบทวนอีกที ในหลักการพิจารณา หลายคนไม่เข้าใจและทำกันผิดๆ ไม่เพียงไม่เกิดประโยชน์ แต่กลับส่งเสริมอัตตา

1. เราควรจะพิจารณาในเรื่องที่ทำให้เราหวั่นไหวตามลำดับก่อนหลังคือ รุนแรง นาน และบ่อย

2. ต้องพิจารณาให้เห็นว่า เรายึดอะไรถึงหวั่นไหวเช่นนั้น และสิ่งที่ยึดมันยึดไม่ได้อย่างไร

3. ควรใช้เหตุผลที่ใช้แก้ให้เหมาะสมกับกิเลส(ธัมวิจยะ)
เรื่องหยาบทางโลก ก็ควรใช้เหตุผลหยาบๆ เรื่องละเอียดก็ต้องใช้เหตุผลที่ละเอียด
และจะต้องแก้เรื่องหลงหยาบๆให้เบาบางก่อน
ไม่ใช่จะรีบกระโดดข้ามไปแต่พิจารณาขันธ์ห้าด้วยไตรลักษณ์หรือสุญญตา ทั้งๆที่ช่วงนั้นตนยังเต็มไปด้วยอุปกิเลส… อ่านต่อ

ทางที่เราต้องฝึก

ทางที่เราต้องฝึก

ประสบการณ์ทุกอย่าง ย่อมถูกเปลี่ยนเป็นปัญญาได้ เมื่อเราสามารถ เปิดใจ เรียนรู้ ยอมรับมันด้วยความอดทน

แท้จริงทุกสิ่งเป็นเพียงภาพมายา เราจึงไม่ต้องไปอะไรๆท่ามกลางการปรากฏของมัน

แต่บนความเป็นมายานั้น มันก็มีสมมุติอันเป็นมายาซ้อนอยู่ เราจึงต้องเรียนรู้และจัดการมันให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกคน

แต่บนการจัดการเพื่อประโยชน์ ก็ต้องปราศจากการยึดติดใดๆทั้งสิ้น… อ่านต่อ

มันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง

มันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง

การพิจารณาใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลกธรรม เรื่องธรรมคู่ หรือแม้กระทั่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตา
มันเป็นการพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งในความจริงตามเป็นจริง

ผลแห่งการพิจารณาคือจิตใจมันยอมรับ
มันยอมรับเพราะมันเห็นว่า มันเป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง ใครไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้

เมื่อเห็นความเป็นธรรมดาเช่นนั้น จิตก็จะคลายตัวออกจากความยึดติดของมันเอง… อ่านต่อ

หลงยึดในคุณค่าความหมาย

หลงยึดในคุณค่าความหมาย

ทำไมคนเราถึงหลงรักหลงเกลียดสิ่งต่างๆเล่า

ก็เพราะคนเราหลงยึดในความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจที่ปรากฏ

แล้วทำไมคนเราถึงหลงยึดมั่นในความพอใจไม่พอใจที่ปรากฏนั้น

โดยภายนอกเพราะเราหลงยึดมั่นความหมายและคุณค่าที่เราปรุงแต่งขึ้นเองต่อสิ่งนั้น ว่ามันจริงๆเช่นนั้น

ในขณะเดียวกัน โดยภายในเราก็หลงยึดในอารมณ์ที่พอใจหรือไม่พอใจนั้นโดยความเป็นตัวตนของตน

เมื่อสองอัตตาเกิดขึ้น ทุกสิ่งก็ดูจริงไปหมด… อ่านต่อ

ประตูนรก

ประตูนรก

เพราะไม่เห็นแจ้งในสภาพดั้งเดิมอันว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนใดๆ จึงเกิดอวิชชาความหลงในความเป็นตัวตน

เพราะมีอวิชชาความหลงโดยความเป็นตัวตน จึงก่อเกิดอัตตาทิฐิ อันเป็นพื้นฐานในการรับรู้ของสัตว์

เพราะมีอัตตาทิฐิ เป็นพื้นในการรับรู้ จึงนำไปสู่อัตตานุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นตัวตน

ตัวตนจึงแบ่งได้หลายระดับ จากภายในสู่ภายนอก จากการปรุงแต่งที่ละเอียด สู่การปรุงแต่งอันซับซ้อนหยาบและใหญ่โต

ความทุกข์ก็จะรุนแรงขึ้นตามระดับแห่งการปรุงแต่งความเป็นตัวตนนั้นด้วย… อ่านต่อ

รู้เท่าทัน หมั่นสังเกต

รู้เท่าทัน หมั่นสังเกต

ปัญหาของการสลายกรอบแห่งอัตตาตัวตนที่สำคัญคือเราไม่รู้เท่าทันความเป็นจริงยามเมื่อมันปรากฏ

นักปฏิบัติน่าจะเคยได้ยินและพิจารณามากันพอสมควรแล้วว่า สิ่งทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นโดยความเป็นตัวตน
(หากยังไม่เคยก็หัดไปศึกษาพิจารณาเสียก่อน ให้จิตมันยอมรับให้ได้)

แต่แม้พิจารณาได้ จนเกิดความเข้าใจแจ่มชัด จนคิดว่าจิตมันยอมรับแล้ว นั่นมันยังเป็นของปลอม มันยอมรับได้แค่ความคิด หรือที่เราเรียกว่า ปัญญาสัญญา
เราจึงต้องนำความรู้ความเข้าใจหรือสัญญานั้นมาภาวนาอีกทีหนึ่ง

การภาวนานั้นแยกออกอีกเป็นสอง คือ… อ่านต่อ

ชีวิตคือกระแสเหตุปัจจัย

ชีวิตคือกระแสเหตุปัจจัย

มนุษย์หลงเข้าไปหมายมั่นในปรากฏการณ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น แล้วให้ความหมายให้คุณค่าแก่มัน บนพื้นฐานแห่งความหลงเดิมๆของตน

เมื่อหลงหมายมั่นก็ยึดมั่นถือมั่นมันว่าเป็นจริงๆ เช่นนั้น สร้างกรอบแห่งอัตตาตัวตนอันแข็งกร้าวขึ้น
และหากยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น ก็ปรุงแต่งต่อเติมด้วยสัญญาความหลงเดิมๆสร้างความยึดมั่นอันรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆจนกลายเป็นทิฐิมานะ สร้างตัวกูอันใหญ่โตขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น ตนก็จะถูกขังไว้ในโลกอันคับแคบและบอบบางที่ตนได้หลงสร้างขึ้นเอง
กระแสเหตุปัจจัยถูกกลบเกลื่อน เหลือแต่สิ่งเดี่ยวๆที่จริงแท้ และกรอบแห่งตัวตนอันแข็งกร้าวมากมาย… อ่านต่อ

พากเพียรไว้เมื่อมีโอกาส

พากเพียรไว้เมื่อมีโอกาส

ผลหนึ่งของการปฏิบัติธรรมก็คือ
การยอมรับโลกตามเป็นจริง
และสามารถสอดคล้องกับมันให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

แต่การที่คนเราจะยอมรับเช่นนั้นได้ มันไม่ใช่ง่าย มันขึ้นอยู่กับความหลงที่เขายึดและกำลังบารมีที่เขามี

ดังนั้นเราจึงต้องพากเพียรเสริมสร้างบารมีเพื่อให้มีกำลังพอที่จะสอดคล้องกับความจริงของโลกให้ได้… อ่านต่อ