Browsed by
Tag: ความเป็นกลาง

ความเป็นกลางในการรับรู้

ความเป็นกลางในการรับรู้

“บารดารบอม” ไม่ทราบว่าจะอ่านคำนี้ว่าอย่างไร ไม่แน่ใจว่าพิมพ์ผิดหรือเปล่าคะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ


ชื่อบุคคลนั้นสำคัญไฉน ในการปฏิบัติ เนื้อหาสาระที่สอนสั่งสิ เป็นเรื่องสำคัญ

เขาพิมพ์ผิด? หรือ เราอ่านไม่ออก? เหตุแห่งความคิดทั้งสองนั้นอยู่ต่างกันไกล

หากมองเห็นเหตุที่แท้จริงได้ ย่อมมีผลมากในการปฏิบัติ

ในการรับรู้นั้น (ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา หู ฯลฯ) เราจำต้องวางใจให้เป็นกลาง ไม่ให้การปรุงแต่งทั้งหลายมามีอิทธิพลต่อเรา ซึ่งการปรุงแต่งนั้นไม่ว่าจะเป็น ความพอใจไม่พอใจ ความเชื่อไม่เชื่อ ความศรัทธาไม่ศรัทธา ฯลฯ ก็ล้วนมาจากเหตุหลักคืออัตตาทิฐิของเราทั้งสิ้น ซึ่งมันจะทำให้เราไม่สามารถเห็นหรือรับรู้ทุกสิ่งได้ตามสภาพความเป็นจริง

นักปฏิบัติเรามักจะคิดว่า การเห็นตามความเป็นจริงนั้น คือ การเห็นโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นก็จริงอยู่ แต่มันเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น แต่มันต้องหมายถึงการเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง ทั้งความจริงทางสมมติ และ ความจริงทางปรมัตถ์… อ่านต่อ

ความเป็นกลางกับการปฎิบัติธรรม

ความเป็นกลางกับการปฎิบัติธรรม

ความเป็นกลางมีความสำคัญต่อการปฎิบัติอย่างไร?


 ความเป็นกลางนั่นล่ะคือการปฏิบัติ หากจิตมิได้ดำเนินอยู่บนความเป็นกลาง แสดงว่าจิตนั้นยังไม่เข้าทางแห่งการปฏิบัติที่แท้จริง ซึ่งนั่นหมายความว่าเราย่อมยังไม่อาจพ้นทุกข์ได้ด้วยการดำเนินของเราเช่นนั้น

ความเป็นกลางนั้น นอกเหนือการปรุงแต่ง มันจึงไม่ใช่สิ่งที่ใครจะพยายามเข้าไปถึงได้ ด้วยการแสวงหา หรือ พยายามให้มันเป็น
ความเป็นกลางนั้นนอกเหนือสมมุติ ซึ่งมิใช่ที่เรามักเข้าใจกันว่า มันเป็นสภาวะที่อยู่ระหว่างสิ่งสองสิ่ง
ความเป็นกลางเป็นผลแห่งการสมดุลกันอย่างพอดีของพลังแห่งสติ สมาธิ ปัญญา ที่ได้อบรมดีแล้ว
ความเป็นกลางนั้นจึงเกิดจากการที่เรามีสติปัญญารู้เท่าทันความเอน หรือ ความปรุงแต่ง ทั้งสองข้างของธรรมคู่
ความเป็นกลางจึงมิได้อยู่ใต้อิทธิพลแห่งความปรุงแต่งใดๆ
ความเป็นกลางจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความอิสระอย่างแท้จริง

ผู้รู้ทั้งหลายจะไม่สรุปว่า ตนอยู่ในความเป็นกลาง เพราะความเป็นกลางมันเป็นสุญญตสภาวะ จึงมิอาจกล่าวได้เช่นนั้น เพียงแต่ตนเห็นและเข้าใจความเซ ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นแม้เพียงนิด….เดียว และด้วยพลังของสติสมาธิปัญญา จึงไม่เผลอปล่อยไปตามความเอนนั้น… อ่านต่อ